สารละลาย (solution)
![](https://static.wixstatic.com/media/4ed27b_0ed3a55f15c54b50b7d8629f3c5dd593~mv2.jpg/v1/fill/w_980,h_662,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_auto/4ed27b_0ed3a55f15c54b50b7d8629f3c5dd593~mv2.jpg)
ประเภทของสารละลาย
สารละลายมีหลายประเภท หากใช้เกณฑ์ในการจำแนก จะแบ่งสารละลายออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. จำแนกตามสถานะของสารละลาย แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1.1 ของแข็ง เช่น เหรียญบาท ทองเหลือง นาก
1.2 ของเหลว เช่น สารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต น้ำเชื่อม น้ำเกลือ
1.3 แก๊ส เช่น แก๊สหุงต้ม อากาศ
2. จำแนกตามปริมาณของตัวละลาย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 สารละลายอิ่มตัว (Saturated solution) คือ สารละลายที่ตัวละลายไม่สามารถละลายในตัวทำละลายได้เพิ่มขึ้นอีกเมื่อตัวทำละลายและอุณหภูมิคงที่ ซึ่งอาจเป็นสารละลายอิ่มตัวพอดี หรือสารละลายอิ่มตัวเหลือเฟือ ถ้าเพิ่มความร้อนให้สารละลายอิ่มตัวเหลือเฟือละลายได้อีก จะได้สารละลายอิ่มตัวยิ่งยวด
2.2 สารละลายไม่อิ่มตัว (Unsaturated solution) คือ สารละลายที่ตัวละลายยังสามารถละลายในตัวทำละลายได้อีก
3. จำแนกตามความเข้มข้น แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
3.1 สารละลายเข้มข้น คือ สารละลายที่ประกอบด้วยตัวละลายปริมาณมาก มีตัวทำละลายปริมาณน้อย
3.2 สารละลายเจือจาง คือ สารละลายที่ประกอบด้วยตัวละลายปริมาณน้อย มีตัวทำละลายปริมาณมาก
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.scimath.org
Comments